การนำทางและเนื้อหา
Insights

‘SKU’ คืออะไรและแนวคิดนี้จะช่วยธุรกิจฉันได้อย่างไร

หน่วยการจำแนกวัสดุคืออะไร บทความนี้ของเราจะนิยามความหมายจริงของคำว่าหมายเลข SKU และสาเหตุที่คุณต้องมี SKU ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

คุณกำลังมองหาบริการคลังสินค้าฟูลฟิลเมนต์ที่ขยายขนาดได้ใช่ไหม? เรามีข้อเสนอที่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่มีคำสั่งซื้อเริ่มต้นเพียง 1,500 รายการต่อเดือน

รับใบเสนอราคา

SKU คืออะไร

SKU ย่อมาจากคำว่า ‘stock-keeping unit’ (หน่วยการจำแนกวัสดุ) สมมติว่าคุณขายเสื้อยืดห้าสี สีละสามไซส์ แสดงว่าเสื้อยืดคุณมีทั้งหมด 15 SKU

คนมักจะสงสัยว่าคำว่า ‘SKU’ อ่านว่าอย่างไร อ่านได้หลายแบบ! จะอ่านแต่ละพยัญชนะแยกกันก็ได้ – “S – K – U” หรือจะอ่านเป็นคำเดียวเลยก็ได้: “สกู”

แล้วอะไรที่ไม่ใช่ SKU บ้างล่ะ! คุณอาจสับสน SKU กับหนึ่งในตัวระบุอื่นๆ ด้านล่าง แต่ตัวระบุเหล่านี้ก็มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอยู่บ้าง:

  • รหัส SKU: เป็นรหัสที่ไม่ซ้ำกัน (บางครั้งเรียกว่า ‘หมายเลข SKU’) ที่บริษัทกำหนดให้แก่ SKU ของตนเอง ดูวิธีสร้างรหัสสำหรับธุรกิจคุณได้ด้านล่าง
  • หมายเลขซีเรียล: หมายเลขที่กำหนดให้กับสินค้าคงคลังแต่ละชิ้นของคุณ ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีมักจะใช้กัน: หากพวกเขามีโทรทัศน์รุ่นหนึ่งจำนวน 200 เครื่องในสต๊อก แต่ละเครื่องก็จะมีหมายเลขซีเรียลไม่ซ้ำกัน แต่มี SKU เหมือนกัน
  • เลขล็อตสินค้า: จะบ่งบอกถึงล็อตที่ผลิตสินค้า และมักจะใช้อุตสาหกรรมอาหารและยา SKU หนึ่งอาจจะมีเลขล็อตสินค้าหลายเลขก็ได้ 
  • บาร์โค้ด: ให้มองว่าเป็นการแปลงรหัส SKU เพื่อให้สามารถสแกนได้ บาร์โค้ดของแต่ละ SKU จะไม่เหมือนกัน แน่นอนว่าสามารถใช้บาร์โค้ดกับตัวระบุอื่นๆ ได้
  • UPC: รหัสสินค้าที่เป็นมาตรฐานสากลและประกอบด้วยเลข 12 หลักตามมาตรฐาน ซึ่งสินค้าที่ผลิตทุกขึ้นจะมีเลขนี้ที่ได้รับจากองค์กรมาตรฐานระดับโลกให้แก่ผู้ผลิตสินค้าประเภทดังกล่าว

ทำไมรหัส SKU จึงมีความสำคัญมากนักในวงการโลจิสติกส์ของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ

SKU ในวงการโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของการจัดการสินค้าคงคลังให้ประสบความสำเร็จ เป็นสิ่งที่จำเป็น หากขาดไป บริษัทที่กำลังเติบโตก็จะดำเนินกิจการไปไม่ได้ และทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทีมงานของ DHL Fulfillment Network จะขอรหัส SKU ของลูกค้าใหม่ตอนลงทะเบียน

เรามาดูรายละเอียดดีกว่าว่าทำไมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง:

การใช้รหัส SKU จะช่วยให้คลังสินค้าหรือศูนย์บริการคลังสินค้าของคุณจัดการการดำเนินการได้:

  • ขาเข้า: จะช่วยให้ระบุผลิตภัณฑ์ได้
    - หากระบบมีรหัส SKU อยู่แล้ว ก็แสดงว่าเป็นสายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว
    - หากเป็นรหัส SKU ใหม่ ก็แสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
  • การจำแนกวัสดุ:
    - จะมีการจัดเก็บสต๊อกสินค้าทั้งหมดที่มี SKU เดียวกันไว้ในคลังสินค้าที่เดียวกันและเป็นการทำให้มีพื้นที่ว่างมากที่สุด
    - ส่วนสต๊อกสินค้าที่หน้าตาคล้ายกันมาก แต่คนละ SKU ก็ควรจัดเก็บไว้ห่างกันในคลังสินค้า ซึ่งก็คือจะต้องมีการจัดเก็บเสื้อยืดสีแดงขนาดเล็ก กลางและใหญ่ไว้คนละที่และต้องอยู่ห่างกันทั้งหมดสามที่เพื่อลดข้อผิดพลาดในการหยิบสินค้า
  • ขาออก:
    - คำสั่งซื้อจะระบุรหัส SKU ของสินค้าที่จะต้องหยิบ เพื่อให้พนักงานหยิบสินค้าเข้าใจอย่างชัดเจน เราจะสแกนรหัส SKU ของสินค้าแต่ละชิ้นทุกครั้งเพื่อป้องกันมิให้หยิบสินค้ามาผิด 

จะเกิดอะไรขึ้น หากมีการใช้รหัส SKU ผิด

  • ขาเข้า:
    - การจัดเก็บสต๊อกสินค้าไม่ถูกต้องอาจทำให้พนักงานหยิบสินค้าผิดได้ และทำให้ลูกค้าไม่พอใจที่ได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง - และทำให้ค่าใช้จ่ายในการคืนสินค้าพุ่งสูงขึ้น
  • ขาออก:
    - จะมีการหยิบสินค้าที่เก็บสต๊อกไม่ถูกต้อง
    - หากมีการสแกนบาร์โค้ดแล้วปรากฏว่าไม่ตรงกับรหัส SKU ที่กำหนด คุณก็จะเห็นข้อความเตือน แม้ว่าวิธีนี้จะทำให้เราทราบปัญหาได้ แต่ก็จะต้องใช้เวลาแก้ไข ซึ่งจะทำให้คำสั่งซื้อของคุณล่าช้า

SKU จะช่วยให้ธุรกิจติดตามสถานะของสินค้าคงคลังและตัดสินใจด้านการจัดซื้อ:

SKU ของคุณเป็นสิ่งแรกที่คุณจะต้องดูเมื่อวิเคราะห์สินค้าคงคลัง ให้มองว่าเป็น ‘รากฐาน’ ของสต๊อกสินค้าของคุณ คุณจะทราบอย่างชัดเจนว่าคุณขายเสื้อยืดสีเขียวไซส์กลางไปแล้วกี่ตัว มีเหลือในสต๊อกกี่ตัวและจำเป็นต้องสั่งเพิ่มกี่ตัว คุณจะทราบด้วยว่าเสื้อยืดสีเหลืองขายได้ไม่ดีตลอดทั้งปีและยอดขายเสื้อยืดสีแดงพุ่งสูงขึ้นช่วงก่อนจะถึงเทศกาลคริสต์มาส

ในทางกลับกัน หากคุณเพียงแค่ดูปริมาณสินค้าในสต๊อกเป็นแบบกลุ่มหรือ ‘ตระกูล’ คุณก็อาจจะเห็นว่ามีสต๊อกเสื้อยืดสีเขียวจำนวนมาก แต่จะไม่ทราบว่าคุณมีเสื้อไซส์เล็กมากเกินไปและไซส์ใหญ่หมดสต๊อกแล้ว

หากคุณไม่ลงรายละเอียดถึงในระดับ SKU คุณก็จะไม่สามารถตัดสินใจเรื่องสินค้าคงคลังและการจัดซื้อได้อย่างมีข้อมูลครบถ้วนเนื่องจากสิ่งที่คุณวิเคราะห์จะไม่ครอบคลุมภาพรวมทั้งหมด คุณจะไม่เข้าใจถึงความแตกต่างเพียงเล็กน้อยของยอดขายและจะพลาดโอกาสในการเติบโตไป


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับบริการคลังสินค้า

เป็นคนแรกที่ทราบแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและข้อมูลเชิงลึกล่าสุดเกี่ยวกับบริการคลังสินค้าของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ&ด้วยการสมัครรับจดหมายข่าวของเรา


ธุรกิจของฉันควรมี SKU มากแค่ไหน

คำถามนี้ไม่มีคำตอบตายตัวเพียงคำตอบเดียว แบรนด์ค้าปลีกแฟชั่นข้ามชาติขนาดใหญ่แบรนด์หนึ่งจะมี SKU จำนวนมหาศาล ส่วนบริษัทสตาร์ทอัพหรือบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็วและผลิตสินค้าเฉพาะกลุ่มอาจจะมีแค่สิบรายการในตอนแรก

อย่างไรก็ตาม ก็มีความจริงเพียงหนึ่งเดียวสำหรับทุกบริษัท: คุณควรมี SKU ให้มากพอที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของคุณ - และสำหรับการเติบโตที่คุณรับมือได้

ยิ่งคุณมีสายผลิตภัณฑ์และ SKU มากเท่าไหร่ คุณก็เสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น:

  • คุณจะต้องเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น: ซึ่งจะกระทบต่อการติดตามสินค้าคงคลัง การพยากรณ์และการจัดซื้อของคุณ
  • คุณจำเป็นต้องมี ‘สต๊อกสินค้าเผื่อไว้’ สำหรับ SKU ทุกรายการเพื่อรับมือกับคำสั่งซื้อที่ไม่คาดคิด ยิ่งคุณมีสต๊อกสินค้ามากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายก็จะยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น
  • ทุกครั้งที่ SKU หมดสต๊อก ก็อาจจะทำให้ลูกค้าที่รู้สึกผิดหวังไปใช้บริการบริษัทอื่นแทน
  • ถ้าให้ดี ก็ควรเก็บสต๊อกไว้ใกล้ฐานลูกค้า ยิ่งมี SKU มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเริ่มใช้งานและจัดการสถานที่จัดเก็บสต๊อกหลายที่ได้ยากยิ่งขึ้น

ฉันจะสร้างรหัสหน่วยการจำแนกวัสดุ (SKU) ได้อย่างไร

ประเด็นหลักก็คือบริษัทสามารถกำหนดรหัส SKU ผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องให้หน่วยงานภายนอกสร้าง ตรวจสอบหรือลงทะเบียนให้คุณ เพียงแค่ใช้สเปรดชีตเพื่อสร้างและเก็บรักษารหัส SKU อย่างไรก็ตาม ก็มีซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้คุณสร้างรหัสได้อย่างรวดเร็วและได้ผล หากคุณต้องการใช้งาน

ตัวอย่างปัจจัยหลักที่ต้องพิจารณาขณะจัดทำรหัส SKU:

  1. ฉันจะจัดหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ตามคุณสมบัติได้อย่างไร ให้ลองคิดถึงสี ขนาด ประเภทผลิตภัณฑ์ วัสดุ ฯลฯ
  2. สร้างระบบที่รหัส SKU จะบ่งบอกถึงคุณลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์คุณ ระบุในตัวอักษร 2-3 ตัวแรก เช่น TMC ย่อมาจาก ‘throat medicine for children’ (ยาบรรเทาอาการเจ็บคอสำหรับเด็ก) ใช้รหัสที่ทีมงานของคุณเข้าใจได้
  3. รหัสควรลงท้ายด้วยตัวเลขที่เรียงตามลำดับ เช่น 001 002 ฯลฯ
  4. ควรหลีกเลี่ยงการใช้รหัสที่ขึ้นต้นด้วยเลขศูนย์และใช้ตัวอักษรต่างๆ เช่น ‘&’ และ ‘%’ เพราะอาจทำให้ผู้ใช้และระบบซอฟต์แวร์สับสนได้
  5. สร้างรหัส SKU ของคุณโดยคำนึงถึงแผนขยายกิจการในอนาคตด้วย

คุณน่าจะต้องใช้รหัส SKU กับพันธมิตร: ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์ ร้านค้าบนเว็บไซต์ (เช่น Shopify PrestaShop ฯลฯ) หรือผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของคุณ คุณอาจจะสร้างระบบรหัส SKU ที่ประกอบด้วยเลข 8 หลัก แต่ระบบของพันธมิตรคุณอาจจะกำหนดให้รหัสมีความยาว 12 หลักและมีพยัญชนะด้วย DHL Fulfillment Network สามารถใช้งานรหัส SKU ที่คุณใช้อยู่แล้วได้ ร้านค้าบนเว็บไซต์ใหญ่ๆ ก็มีระบบที่ยืดหยุ่นเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม ให้ศึกษารายละเอียดของบุคคลภายนอกทั้งหมดเพื่อพิจารณาว่าคุณจะต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับข้อกำหนดของพวกเขาหรือไม่

เรามาช่วยทำให้คุณสามารถใช้งาน SKU ของคุณกันดีกว่า

ทีมงานที่ DHL Fulfillment Network ใช้รหัส SKU ของลูกค้าตลอดทั้งวันและในทุกวัน รหัสดังกล่าวเป็นเสาหลักของเครื่องมือจัดการสินค้าคงคลังของเราทั้งหมด

ลูกค้ามาใช้บริการกับเราเพราะต้องการสัมผัสเครือข่ายศูนย์บริการคลังสินค้ามืออาชีพที่ตั้งอยู่ตามทวีปยุโรป เอเชียและอเมริกา และจะทำให้สต๊อกสินค้าของพวกเขาอยู่ใกล้ฐานลูกค้า พวกเขาสามารถเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนสต๊อกสินค้าให้เข้ากับยอดขายสินค้า

และไม่ใช่แค่นี้ เพราะตัวช่วย advanced inventory insights ทำให้ลูกค้าแต่ละคนของเราสามารถดูสินค้าคงคลังอย่างละเอียดบนแดชบอร์ดโดยเฉพาะ จากนั้น ก็เจาะลึกเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์ปริมาณสินค้าในสต๊อกและความเคลื่อนไหวตามคลังสินค้าแต่ละแห่ง พวกเขายังสามารถวิเคราะห์สถานการณ์แบบ ‘จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหาก’ สำหรับสินค้าคงคลังของตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าหมดสต๊อก

และพวกเขาจะทำทั้งหมดนี้ได้ก็อย่างที่คุณเดาออกว่าเป็นเพราะ รหัส SKU ที่สามารถบอกอะไรได้มากมายจากแค่ไม่กี่ตัวอักษร

พิธีการศุลกากร: เคล็ดลับสำหรับธุรกิจของคุณ
Insights
ลดค่าใช้จ่ายด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน: ทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับธุรกิจอี-คอมเมิร์ซของคุณ
Insights
ช่วยทำให้ UP2Tech เปล่งประกาย: ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีผู้ใช้บริการมากหรือไม่ก็ตาม!
Success Story
ความชำนาญที่ขับเคลื่อนได้จริง: บริการคลังสินค้าที่ตอบโจทย์ Absolute Cycling
Success Story
การผนวกรวมระบบ ERP ของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซและร้านค้าบนเว็บไซต์เข้ากับ DHL
Insights
บริการคลังสินค้าสำหรับธุรกิจอี-คอมเมิร์ซแบบ B2B: เรื่องสำคัญที่ควรทราบ
Insights
การช่วย Plant-based Fuel ปลดล็อกการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ
Success Story
‘SKU’ คืออะไรและแนวคิดนี้จะช่วยธุรกิจฉันได้อย่างไร
Insights
โลจิสติกส์แบบ 3PL คืออะไร
Insights
Erdinger ได้ทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซประสบความสำเร็จในตลาดเครื่องดื่ม
Success Story
มุ่งสู่ความสำเร็จสูงสุดด้วยพาร์ทเนอร์ด้านโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์
Capabilities
รับมือกับช่วงขายดีอย่างมือโปร
Insights
ช่วยให้ Oakmont ขยายกิจการไปยังต่างประเทศ
Success Story
ยกระดับประสบการณ์การแกะกล่องด้วยความเฉพาะตัว
Capabilities
ช่วย Jockey แบรนด์เสื้อผ้ารับมือกับอุปสรรคหลัง Brexit
Success Story
สนใจเพิ่มเติมใช่ไหม เข้าไปที่คลังความรู้ของเรา

เราเชื่อมั่นในการตั้งราคาที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน

ลองใช้บริการเครื่องคำนวณค่าบริการคลังสินค้าของเราเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

มาร่นระยะเวลาจัดส่งของคุณกันดีกว่า

จำลองว่าคุณจะสามารถปรับปรุงระยะเวลาจัดส่งให้มีประสิทธิภาพที่สุดได้อย่างไร

ผู้ชายที่มีความสุขกำลังเข็นรถเข็น ในรถมีผู้หญิงที่กำลังตื่นเต้นและชี้นิ้วขึ้นฟ้านั่งอยู่

รับใบเสนอราคา

คุณสนใจใช้บริการคลังสินค้าที่ปรับขนาดได้ใช่หรือไม่

ถ้าสนใจ ก็มาเริ่มกันเลยดีกว่า

กำลังหาบางพิกัดอยู่ใช่ไหม หาพิกัดของคุณเลย