#คําแนะนําด้านโลจิสติกส์

คู่มือการจัดส่งไปยังประเทศในเอเชียที่ง่ายและรวดเร็วสําหรับผู้ส่งออกไทย

7 นาที
two dhl express employees from thailand preparing to sort parcels for export

เอเชียเป็นมหาอํานาจของการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่และทำกำไรมหาศาลสําหรับผู้ส่งออกไทย ด้วยเศรษฐกิจที่หลากหลายและฐานผู้บริโภคที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีโอกาสมากมายสําหรับธุรกิจในประเทศไทยที่ต้องการขยายการเข้าถึงตลาด ธุรกิจไทยต้องการโซลูชันการจัดส่งที่มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ อย่างเช่น DHL Express ที่สามารถจัดส่งสินค้าภายในเอเชียในเวลาเพียงวันเดียว

สําหรับธุรกิจในท้องถิ่นที่ต้องการขยายตลาด สิ่งสําคัญประการหนึ่งที่ต้องทําให้ถูกต้องคือ การปรับปรุงการขนส่งระหว่างประเทศจากประเทศไทย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ธุรกิจเหล่านี้จะต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับกฎระเบียบการนําเข้าในประเทศปลายทาง และ de minimis ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนการจัดส่ง ในคู่มือนี้ จะให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับตลาดเอเชียที่สำคัญ และเข้าใจง่ายสำหรับผู้ส่งออกไทย เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงโอกาสทางอีคอมเมิร์ซที่กว้างขวางในภูมิภาคนี้

กฎระเบียบการนําเข้าสินค้า และมูลค่า De minimis ที่ต้องรู้เมื่อจัดส่งไปยังเอเชีย

เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่าย และความล่าช้าที่ไม่คาดคิดเมื่อจัดส่งไปยังเอเชีย ธุรกิจไทยต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบการนําเข้าสินค้า และมูลค่า De minimis ของประเทศเป้าหมายเป็นอย่างดี

การจัดส่งจากไทยไปจีน

  • กฎระเบียบการนําเข้าของจีน: กฎระเบียบการนําเข้าในประเทศจีนมีความเข้มงวด ผู้ส่งออกไทยควรให้ความสําคัญกับการจําแนกประเภทผลิตภัณฑ์ตามระบบพิกัดศุลกากร (Harmonized System Code - HS Code) สินค้าหลายประเภทต้องมีใบอนุญาต เอกสารอนุญาต และเอกสารประกอบที่ครบถ้วน
  • สินค้าต้องกำกัด/ต้องห้ามที่สำคัญ: ห้ามมิให้นำเข้าอาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด สินค้าลอกเลียนแบบ สิ่งพิมพ์บางชนิด และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์โดยเด็ดขาด สินค้าต้องกำกัด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร สารเคมี และยา ซึ่งมักต้องการใบอนุญาตพิเศษ และอาจต้องมีการควบคุมปริมาณ
  • มูลค่า De Minimis: ไม่มี De Minimis สําหรับอีคอมเมิร์ซหรือการจัดส่งแบบด่วนไปยังประเทศจีน การนําเข้าเชิงพาณิชย์ทั้งหมดไม่ว่าจะมีมูลค่าเท่าใดจะต้องเสียอากรและภาษี 1 
  • ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศไทย: ไทยและจีนต่างก็เป็นสมาชิกของเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ซึ่งมีอัตราภาษีที่เอื้อประโยชน์สําหรับสินค้าหลากหลายประเภท
  • หน่วยงานที่สำคัญ: สํานักงานการกำกับดูแลศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) เป็นหน่วยงานศุลกากรหลัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ (MOFCOM) และสํานักงานบริหารจัดการตลาดแห่งรัฐ (SAMR)

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การจัดส่งจากประเทศไทยไปยังประเทศจีน

การจัดส่งจากไทยไปฮ่องกง

  • กฎระเบียบการนําเข้าของฮ่องกง: สินค้าส่วนใหญ่สามารถนําเข้าได้อย่างอิสระ โดยมีข้อจำกัดเพียงเล็กน้อย และข้อกำหนดด้านเอกสารที่ชัดเจน
  • สินค้าต้องกำกัด/ต้องห้ามที่สำคัญ: สินค้าควบคุม เช่น ยา อาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย ต้องมีใบอนุญาต
  • มูลค่า De Minimis:  ฮ่องกงไม่ได้กําหนดมูลค่า De Minimis นอกจากนี้ยังเป็นท่าเรือเสรี ดังนั้นจึงจะไม่มีการเรียกเก็บภาษี อากร และค่าธรรมเนียมจากสินค้าส่วนใหญ่ที่นําเข้า ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสําหรับสุรา ยาสูบ น้ำมันไฮโดรคาร์บอน และเมทิลแอลกอฮอล์ 2
  • ข้อตกลงการค้าเสรี: ฮ่องกงมีข้อตกลงการค้าเสรีกับอาเซียน ซึ่งรวมถึงประเทศไทย โดยยกเลิกภาษีศุลกากรสําหรับสินค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อขายระหว่างฮ่องกงและประเทศสมาชิกอาเซียน
  • หน่วยงานที่สำคัญ: กรมศุลกากรและสรรพสามิตในฮ่องกงมีหน้าที่บังคับใช้กฎระเบียบการนําเข้าสินค้า

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ส่งออกไทยควรรู้เกี่ยวกับ การจัดส่งจากไทยไปยังฮ่องกง

การจัดส่งจากไทยไปเกาหลีใต้

  • กฎระเบียบการนําเข้าของเกาหลีใต้: เกาหลีใต้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การแจ้งการนำเข้าอย่างครอบคลุม และเข้มงวดก่อนที่สินค้าจะได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศ ควรให้ความสนใจกับการจําแนกประเภทภาษีศุลกากรและการยื่นเอกสารสําหรับการสําแดงการนําเข้า 3 
  • สินค้าต้องกำกัด/สินค้าต้องห้ามที่สำคัญ: สินค้าต้องกำกัด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง ผลิตภัณฑ์จากพืช และผลิตภัณฑ์จากสัตว์บางประเภท ห้ามนำปืน ยาเสพติด สื่อลามกอนาจาร สื่อที่มีแนวโน้มการก่อการร้าย สื่อที่เป็นการกบฏ และสินค้าลอกเลียนแบบเข้าสู่เกาหลีใต้ 4
  • มูลค่า De minimis : มูลค่า De minimis สําหรับสินค้าจากประเทศไทยคือ 150 USD
  • ข้อตกลงการค้าเสรี: ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี (AKFTA) มีอัตราภาษีที่เอื้อประโยชน์สำหรับสินค้าหลายประเภทที่ซื้อขายระหว่างประเทศไทยไทยและเกาหลีใต้
  • หน่วยงานที่สำคัญ: สำนักงานศุลกากรเกาหลี (KCS) ดูแลกระบวนการนําเข้าสินค้า

การจัดส่งจากไทยไปมาเลเซีย

  • กฎระเบียบการนําเข้าของมาเลเซีย: ควรให้ความสนใจกับใบอนุญาตและการอนุมัติฮาลาล (Halal) สําหรับสินค้าบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา อุปกรณ์โทรคมนาคม และสารเคมี การติดฉลากอย่างถูกต้อง และการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยเป็นสิ่งสําคัญ
  • สินค้าต้องกำกัด/ต้องห้ามที่สำคัญ: สินค้าต้องห้าม ได้แก่ สื่อลามกอนาจาร สื่อการพนัน และผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
  • มูลค่า De minimis: มูลค่า De minimis ของมาเลเซียกำหนดไว้ที่ 500 MYR 5
  • ข้อตกลงการค้าเสรี: ในฐานะสมาชิกของอาเซียน ไทยและมาเลเซียสามารถยกเว้นภาษีศุลกากรสําหรับสินค้าส่วนใหญ่ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
  • หน่วยงานที่สำคัญ: กรมศุลกากรมาเลเซียเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องศุลกากร

การจัดส่งจากไทยไปฟิลิปปินส์

  • กฎระเบียบการนําเข้าของฟิลิปปินส์: กฎระเบียบการนําเข้าอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้า สินค้าบางประเภทต้องมีใบอนุญาตนําเข้า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหาร และสินค้าที่อยู่ภายใต้การควบคุม เช่น สารเคมีและยา
  • สินค้าต้องกำกัด/ต้องห้ามที่สำคัญ: สินค้าต้องห้าม ได้แก่ ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย อาวุธปืน วัตถุระเบิด และวัตถุอันตรายบางชนิด
  • มูลค่า De Minimis: มูลค่า De Minimis สําหรับฟิลิปปินส์ คือ 10,000 PHP การจัดส่งที่ต่ำกว่ามูลค่านี้ อาจเข้าข่ายได้รับขั้นตอนการผ่านพิธีการศุลกากรแบบง่าย 5
  • ข้อตกลงการค้าเสรี: ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) อํานวยความสะดวกในการค้าปลอดภาษีสําหรับสินค้าส่วนใหญ่ระหว่างประเทศไทยและฟิลิปปินส์
  • หน่วยงานที่สำคัญ: สํานักงานศุลกากร (BOC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการด้านศุลกากร

การจัดส่งจากไทยไปไต้หวัน

  • กฎระเบียบการนําเข้าของไต้หวัน: กฎระเบียบการนําเข้าของไต้หวันโดยทั่วไปนั้นตรงไปตรงมา มีขั้นตอนและข้อกําหนดด้านเอกสารที่ชัดเจน
  • สินค้าต้องกำกัด/ต้องห้ามที่สำคัญ: สินค้าบางชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ยา อาวุธ และสารเคมีบางชนิด ต้องมีใบอนุญาต หรือเอกสารอนุมัติ
  • มูลค่า De Minimis: ไต้หวันมีมูลค่า De Minimis ที่ 2,000 TWD 5
  • ข้อตกลงการค้าเสรี: แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงการค้าเสรีอย่างเป็นทางการระหว่างประเทศไทยและไต้หวัน แต่ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกของความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (APEC) ซึ่งส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
  • หน่วยงานที่สำคัญ: สํานักงานศุลกากรไต้หวันดูแลกระบวนการนําเข้าสินค้า

การจัดส่งจากไทยไปสิงคโปร์

  • กฎระเบียบการนําเข้าของสิงคโปร์: ผู้ส่งออกไทยสามารถใช้ประโยชน์จากกฎระเบียบการนําเข้าที่ค่อนข้างเปิดกว้างของสิงคโปร์ แต่สินค้าควบคุม เช่น ยา อาวุธปืน และพืชบางชนิดต้องมีใบอนุญาต การจําแนกประเภทผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง และการปฏิบัติตามข้อกําหนดการติดฉลากเป็นสิ่งสําคัญ
  • สินค้าต้องกำกัด/ต้องห้ามที่สำคัญ: สินค้าต้องห้าม ได้แก่ หมากฝรั่ง ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
  • มูลค่า De Minimis: จะมีการเรียกเก็บอากรและภาษีสําหรับการนําเข้าไปยังสิงคโปร์หากมูลค่า CIF ทั้งหมดของการนําเข้าเกิน 400 SGD
  • ข้อตกลงการค้าเสรี: ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) รับรองการค้าปลอดภาษีระหว่างไทยและสิงคโปร์สําหรับสินค้าส่วนใหญ่
  • หน่วยงานที่สำคัญ: กรมศุลกากรสิงคโปร์เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเรื่องศุลกากร

เรียนรู้วิธีการจัดส่งจากไทยไปสิงคโปร์

การจัดส่งจากไทยไปเวียดนาม

  • กฎระเบียบการนําเข้าของเวียดนาม: เวียดนามจัดประเภทสินค้าตามความเสี่ยง สินค้าบางประเภท เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสําอาง และอาหาร ต้องมีใบอนุญาตหรือการรับรองเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพ
  • สินค้าต้องกำกัด/ต้องห้ามที่สำคัญ: สินค้าต้องกำกัด ได้แก่ อาวุธปืน วัตถุระเบิด สารเคมีบางชนิด และสินค้าที่ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
  • มูลค่า De Minimis: เวียดนามมีมูลค่า De Minimis ที่ 1,000,000 VND
  • ข้อตกลงการค้าเสรี: ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) อํานวยความสะดวกในการค้าปลอดภาษีสําหรับสินค้าส่วนใหญ่ระหว่างไทยและเวียดนาม
  • หน่วยงานที่สำคัญ: กรมศุลกากรเวียดนามรับผิดชอบเรื่องศุลกากร

การจัดส่งจากไทยไปญี่ปุ่น

  • กฎระเบียบการนําเข้าของญี่ปุ่น: ญี่ปุ่นมีกฎระเบียบการนําเข้าที่เข้มงวด และการปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และข้อกําหนดการติดฉลากเป็นสิ่งสําคัญ สินค้าบางประเภทต้องมีใบอนุญาตนําเข้า หรือใบรับรอง
  • สินค้าต้องกำกัด/ต้องห้ามที่สำคัญ: อาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด สินค้าลอกเลียนแบบ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรบางประเภท เป็นสิ่งต้องห้ามหรือต้องกำกัด
  • มูลค่า De Minimis:  ญี่ปุ่นมีมูลค่า De Minimis ที่ 10,000 เยนสําหรับสินค้าส่วนใหญ่
  • ข้อตกลงการค้าเสรี: ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทย (JTEPA) มีอัตราภาษีที่เอื้อประโยชน์สําหรับสินค้าหลากหลายประเภท
  • หน่วยงานที่สำคัญ: สำนักงานศุลกากรของญี่ปุ่นดูแลขั้นตอนการนําเข้าสินค้า

DHL Express: ประตูจากไทยสู่เอเชีย

พนักงาน DHL Express กําลังจัดส่งด้วยสกู๊ตเตอร์

ต้องการขยายธุรกิจของคุณในระดับภูมิภาคและใช้ประโยชน์จากโอกาสทางอีคอมเมิร์ซในเอเชียหรือไม่? ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส คือพันธมิตรที่เหมาะสำหรับคุณในการรับมือกับความซับซ้อนของการขนส่งระหว่างประเทศจากประเทศไทย

  • ความเชี่ยวชาญและความรวดเร็วภายในเอเชีย: ด้วยเครือข่ายที่กว้างขวางและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เราจึงนําเสนอการจัดส่งที่ราบรื่นและรวดเร็วทั่วเอเชีย เพลิดเพลินกับการจัดส่งแบบ door-to-door ไปยังเมืองใหญ่ๆ ในเอเชียในราคาที่แข่งขันได้
  • การจัดส่งที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ: ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าของคุณด้วยบริการจัดส่งที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ เราให้ความสําคัญกับความเร็วและความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่าพัสดุของคุณถึงที่หมายตรงเวลาและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
  • โซลูชันสำหรับอีคอมเมิร์ซ: ทำให้การดำเนินงานอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของคุณง่ายขึ้นด้วยโซลูชันที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับธุรกิจออนไลน์ เรามีโซลูชันแบบบูรณาการสำหรับการจัดส่ง การติดตาม และพิธีการทางศุลกากร ช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่การขยายธุรกิจของคุณ

ยกระดับประสบการณ์ลูกค้าของคุณด้วยพลังแห่งความเร็ว! ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่กว้างขวางเพื่อจัดส่งสินค้าภายในเอเชียในเวลาเพียงวันเดียว ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งออกไทยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่ซับซ้อนของการขนส่งไปยังเอเชียได้อย่างมั่นใจ รวมถึงการจําแนกประเภทของ HS Code ที่ถูกต้องและพิธีการทางศุลกากร เพื่อปลดล็อกศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของภูมิทัศน์อีคอมเมิร์ซแบบไดนามิกของภูมิภาค เปิดบัญชีธุรกิจ DHL Express วันนี้ และค้นพบวิธีที่เราสามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตในเอเชียได้อย่างไร