#คําแนะนําด้านโลจิสติกส์

FAQs การเรียกเก็บภาษี VAT จากสินค้านำเข้ามูลค่า 1-1,500 บาท

facebook sharing button
twitter sharing button
linkedin sharing button
Smart Share Buttons Icon Share
FAQs  การเรียกเก็บภาษี VAT จากสินค้านำเข้ามูลค่า 1-1,500 บาท

การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดด้านศุลกากรเกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากสินค้านำเข้าในประเทศไทยที่มีมูลค่า 1 - 1,500 บาท

ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2567

อ้างอิงจากประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2567 ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค ระหว่างผู้ขายในต่างประเทศซึ่งไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับผู้ขายในประเทศไทยที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ประกอบกับประเทศไทยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งให้กำหนดราคาขั้นต่ำของของที่นำเข้าแต่ละรายเพื่อให้คุ้มค่ากับการจัดเก็บอากรศุลกากร อันเพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ

อธิบดีกรมศุลกากรด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงออกประกาศกรมศุลกากรที่ 116/2567 ระบุการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาทเป็นการชั่วคราวผ่านกรมศุลกากร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567

ข้อมูลสำคัญ

  • กรมศุลกากรไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินแยกตามใบนำส่งสินค้า (Air Waybill) แต่จะเป็นใบเสร็จรับเงินรวมของใบขนทั้งหมด ผู้รับจะได้รับเฉพาะเอกสาร DHL Duty invoice/ Tax invoice เท่านั้น

กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคำถามที่พบบ่อยข้างล่างนี้

คำถามทั่วไป

ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1-1,500 บาท (CIF – ราคาสินค้า รวมค่าขนส่งและค่าประกันภัย) จะถูกเรียกเก็บค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากเดิมที่ไม่ได้มีการเรียกเก็บ

อ้างอิงจากเว็บไซต์ศุลกากร ยังไม่มีการประกาศเพิ่มเติมจากกระทรวงการคลังและกรมศุลกากรเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใดๆ หลังวันที่ 31 ธันวาคม 2567

กรุณาติดต่อกรมศุลกากรที่ Call Center เบอร์ 1164 หรือ อีเมล์ 1164@customs.go.th เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

กระทรวงการคลัง และกรมศุลกากร

กรุณาอ้างอิงจากประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ที่นี่

หรืออ้างอิงจากเว็บไซต์กรมศุลกากร ที่รวมรวมทั้งประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศกรมศุลกากร ในเว็บไซต์ ที่นี่

รัฐบาลมีนโยบายให้กระทรวงการคลังแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับผู้ขายในต่างประเทศซึ่งปัจจุบันยังไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในขณะที่ผู้ขายในประเทศไทย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมิร์ซ) ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ในระหว่างที่กรมสรรพากรเสนอแก้ไขประมวลรัษฎากร เพื่อเรียกเก็บ VAT จากการขายสินค้ามูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท โดยตรงผ่านแพลตฟอร์มผู้ขายในต่างประเทศ และนำส่งให้กรมสรรพากรเป็นรายเดือน ซึ่งกระบวนการแก้ไขกฎหมายระดับ พ.ร.บ. หรือประมวลรัษฎากรนั้นต้องใช้ระยะเวลา กระทรวงการคลังจึงออกมาตรการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นการชั่วคราวผ่านกรมศุลกากร สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท 

ระยะเวลาบังคับชั่วคราว ตั้งแต่ 5 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567

คำนวณได้จาก สินค้ามูลค่าสินค้าตาม CIF x 7%

C – Cost คือราคาของสินค้า

I – Insurance คือ ค่าประกันความเสียหายของสินค้า

F – Freight คือ ค่าขนส่ง

ไม่ การเรียกเก็บอากรศุลกากร (Duties) ยังคงเงื่อนไขการเรียกเก็บตามเดิม คือ สินค้ามูลค่า CIF ไม่เกิน 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้นอากร

อ้างอิงจากประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท ระบุในข้อ 3 ว่า ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 15 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 หากนับจากวันประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2567 เป็นเวลา 15 วัน วันที่มีผลบังคับใช้จะตรงกับวันที่ 5 กรกฎาคม 2567

ในระหว่างที่กรมสรรพากรเสนอแก้ไขประมวลรัษฎากร เพื่อเรียกเก็บ VAT จากการขายสินค้ามูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท โดยตรงผ่านแพลตฟอร์มผู้ขายในต่างประเทศ และนำส่งให้กรมสรรพากรเป็นรายเดือน ซึ่งกระบวนการแก้ไขกฎหมายระดับ พ.ร.บ. หรือประมวลรัษฎากรนั้นต้องใช้ระยะเวลา กระทรวงการคลังจึงออกมาตรการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นการชั่วคราวผ่านกรมศุลกากร สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท 

กรมศุลกากรจึงขอความร่วมมือผู้ให้บริการโลจิสติกส์ รวมถึง DHL Express ที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในไทย เป็นผู้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และนำส่งกรมสรรพากรต่อไป

 

ถูกต้อง กรมศุลกากรขอความร่วมมือผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทุกราย รวมถึง DHL Express ที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในไทย เป็นผู้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และนำส่งกรมสรรพากรผ่านกรมศุลกากรต่อไป

DHL Express ให้ความร่วมมือกับกรมศุลกากรและอำนวยความสะดวกกับลูกค้าในระหว่างการบังคับใช้มาตรการชั่วคราวนี้ สำหรับการนำเข้าสินค้ามูลค่า 1-1,500 บาท ลูกค้าจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามจริง โดย DHL ไม่คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

VAT คือภาษีที่กรมสรรพากรเรียกเก็บจากผู้บริโภค โดยในไทยกำหนดให้เก็บที่อัตรา 7% ของราคาขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเข้าสู่คลังของประเทศ 

กรุณาติดต่อกรมสรรพากร หรือกรมศุลกากรโดยตรงเพื่อสอบถามข้อมูล

DHL Express จะไม่นำส่งสินค้าแก่ผู้รับ จนกว่าจะมีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ผู้รับสามารถชำระได้ผ่านช่องทาง ดังนี้

  • ชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ QR payment บนแพลตฟอร์ม ADC (Advance Duty Collection) ของ DHL Express ซึ่งผู้รับจะได้ลิงก์ชำระเงินทาง SMS หรืออีเมลที่ผู้ส่งได้ระบุไว้
  • ชำระผ่าน QR payment ในวันที่รับสินค้า โดยเจ้าหน้าที่คูเรียร์จะเป็นผู้สร้างลิงก์ QR payment ให้ผู้รับโดยตรง 

เนื่องจากกรมศุลกากรไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินแยกตามใบนำส่งสินค้า (AWB) แต่จะเป็นใบเสร็จรับเงินรวมทั้งใบขน ผู้รับจะได้รับเฉพาะเอกสาร DHL Duty invoice/ Tax invoice เท่านั้น หากต้องการเอกสารศุลกากรอื่นๆ สามารถส่งอีเมลแจ้งความประสงค์ที่ CustomsDocumentQuery@dhl.com

ผลกระทบต่อผู้ส่ง

เพื่อการนำเข้าสินค้าที่รวดเร็วและเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ส่งควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้า/ผู้รับ ถูกต้องตามข้อมูลผู้นำเข้าและผู้เสียภาษี

นอกจากนี้ ผู้ส่งต้องระบุอีเมลและเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ถูกต้องและใช้งานได้จริงของผู้รับในประเทศไทย เพื่อให้ DHL Express ส่งลิงก์ชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และ/หรืออากรศุลกากร (Duties) ได้

  • สำแดงรายละเอียดสินค้าให้ถูกต้อง ครบถ้วน และมูลค่าสินค้าตามจริง
  • ระบุชื่อและที่อยู่ผู้นำเข้า/ผู้รับ ให้ถูกต้อง
  • ระบุอีเมลและเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ถูกต้องและใช้งานได้จริงของนำเข้า/ผู้รับ

ผลกระทบต่อผู้รับ (ผู้นำเข้า)

ผู้รับที่นำเข้าของที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1-1,500 บาท (CIF – ราคาสินค้ารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัย) เข้ามาในประเทศไทย จะถูกเรียกเก็บค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากเดิมที่ไม่ได้มีการเรียกเก็บ มีผลบังคับใช้วันที่ 5 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567

  • สื่อสารกับผู้ส่งว่าให้ระบุชื่อ ที่อยู่ อีเมล และเบอร์โทรศัพท์มือถือของผู้รับให้ถูกต้อง
  • ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่านช่องทางชำระเงินของผู้ให้บริการขนส่ง เช่น แพลตฟอร์ม ADC (Advance Duty Collection) ของ DHL Express โดยผู้รับจะได้รับลิงก์ชำระเงินผ่าน SMS หรืออีเมลที่ผู้ส่งได้ทำรายการไว้
  • หากผู้รับไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) DHL Express จะไม่สามารถนำส่งสินค้าได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • เว็บไซต์ศุลกากร

        www.customs.go.th

  • Call Center

        เบอร์ 1164

  • อีเมล

        1164@customs.go.th